เทศบาลเมืองเมืองพล

Mueang Phon Town Municipality

ความเสี่ยงและควบคุมภายใน

ผู้ใช้ขณะนี้

มี 72 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

ค้นหาข้อมูล

สถิติการเข้าชม

570797
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
รวมทุกวัน
324
1920
5439
560065
15380
22665
570797

Your IP: 3.141.31.209
2024-04-19 08:30

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ เทศบาลเมืองเมืองพล

      ภารกิจอำนาจหน้าที่ของเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ และตามกฎหมายอื่น อาทิเช่น พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. ๒๕๑๐ พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๐๘ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน เป็นต้น ซึ่งเทศบาลเมืองเมืองพลได้นำมากำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อที่จะเข้าไปแก้ปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชน โดยกำหนดภารกิจอำนาจหน้าที่ของเทศบาลเมืองเมืองพลเป็น 7 ด้าน ดังนี้

  1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
    1. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ ( มาตรา ๑๖ (๒) มาตรา ๕๐ (๒) มาตรา ๕๓ (๕) )
    2. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ ( มาตรา ๑๖ (๔) )
    3. การสาธารณูปการ ( มาตรา ๑๖(๕) มาตรา ๕๔ (๖) )
    4. การควบคุมอาคาร ( มาตรา ๑๖ (๒๘) )
    5. ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ ( มาตรา ๕๓ (๖) )
    6. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น ( มาตรา ๕๓ (๗) )
    7. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศ กำหนด ( มาตรา ๑๖ (๓๑) )
  2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    1. การจัดการศึกษา ( มาตรา ๑๖ (๙) )
    2. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ( มาตรา ๑๖ (๑๐) )
    3. การจัดให้มีและบำรุงสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ( มาตรา ๑๖ (๑๓) มาตรา ๕๔ (๑๐) )
    4. การส่งเสริมกีฬา ( มาตรา ๑๖ (๑๔) )
    5. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ( มาตรา ๑๖ (๑๙) )
    6. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ ( มาตรา ๕๐ (๔) )
    7. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม ( มาตรา ๕๐ (๖) )
    8. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ ( มาตรา ๕๓ (๔) )
    9. กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ( มาตรา ๑๖ (๓๑ ) )
  3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    1. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ ( มาตรา ๑๖ (๓) มาตรา ๕๔ (๑) )
    2. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ( มาตรา ๑๖ (๑๗) )
    3. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ ( มาตรา ๑๖ (๒๒) มาตรา ๕๓ (๓) )
    4. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ( มาตรา ๑๖ (๓๐) มาตรา ๕๐ (๑) )
    5. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การอนามัย โรงมหรสพและ สาธารณสถานอื่น ๆ ( มาตรา ๑๖ (๒๓) )
    6. การผังเมือง ( มาตรา ๒๖ (๒๕) )
    7. การป้องกันและการบรรเทาสาธารณภัย ( มาตรา ๑๖ (๒๙) มาตรา ๕๐ (๕) )
    8. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปสถาน ( มาตรา ๑๖ (๒๐) มาตรา ๕๔ (๒) )
    9. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศ กำหนด ( มาตรา ๑๖ (๓๑) )
  4. ด้านวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    1. การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ ( มาตรา ๑๖ (๖) มาตรา ๕๐ (๖) )
    2. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน ( มาตรา ๑๖ (๗) )
    3. การส่งเสริมการท่องเที่ยว ( มาตรา ๑๖ (๘) )
    4. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร ( มาตรา ๕๔ (๓) )
    5. เทศพาณิชย์ ( มาตรา ๕๔ (๑๒) )
    6. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ( มาตรา ๑๖ (๓๑) )
  5. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    1. การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย ( มาตรา ๑๖ (๑๘) มาตรา ๕๐ (๓) )
    2. การจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ( มาตรา ๑๖ (๓๑) )
    3. การดูแลรักษาที่สาธารณะ ( มาตรา ๑๖ (๒๗) )
    4. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศ กำหนด ( มาตรา ๑๖ (๓๑) )
  6. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    1. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ( มาตรา ๑๖ (๑๑) มาตรา ๕๐ (๘) )
    2. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศ กำหนด ( มาตรา ๑๖ (๓๑) )
  7. ด้านการบริหารจัดการ และการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
    1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (มาตรา ๑๖ (๑) )
    2. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา ๑๖ (๑๕) )
    3. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศ กำหนด (มาตรา ๑๖ (๓๑) )

 

 ตราสัญญลักษณ์เทศบาลเมืองเมืองพล

ความหมายของดวงตราเทศบาล
            ดวงตราเทศบาลเมืองเมืองพล เป็นรูปพระนารายณ์ยืนบนหลังพญานาค อยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
ท่าปฏิหารย์ มือซ้ายถือสังข์ มือขวาถือตรีศูลเป็นอาวุธ มีความหมายดังนี้

พระนารายณ์แทนรูปเจ้าพ่ออุปฮาตราชวงศ์ ยืนบนหลังนาค ริมฝั่งแม่น้ำบึงละเลิงหวาย มือถือสังข์ มือขวา
ถือตรีศูลเป็นอาวุธ ใช้ปราบยุคเข็ญ ให้เกิดความรมเย็นเป็นสุขแก่มวลมนุษย์

คำว่า "รามราช" คือ อาณาเขตที่อยู่ของผู้เป็นใหญ่ อันหมายถึง โนนรามราชแต่อดีต ซึ่งมีความสำคัญ
เกี่

ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองพลมาแต่โบราณกาล
ดวงตราเทศบาลเมืองเมืองพล มีความสำคัญกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของบ้านเมืองพล


 สภาพภูมิประเทศ

     ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นเนินลาดลักษณะลูกคลื่น และที่ราบบางส่วน สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายน้ำซึมผ่านได้รวดเร็วและ น้ำใต้ดินมีความเค็มสูง ขาดแคลนน้ำอุปโภค - บริโภค แหล่งน้ำที่สำคัญคืออ่างเก็บน้ำละเลิงหวาย


 พื้นที่เขตเทศบาล

     ทิศเหนือ เริ่มตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ที่หลัก กิโลเมตรที่ 378-250 ของทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ หักฉากกับทางรถไฟไปทางทิศตะวันออก เป็นระยะทาง 580 เมตร จรดหลักเขตที่ 2 ขนานไปตามฝั่งตะวันออกของทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ไปทางใต้เป็นระยะทาง 430 เมตร จนจรดหลักเขตที่ 3 ซึ่งเขตเทศบาลเมืองเมืองพล ทางทิศเหนือจะติดต่อกับเขตตำบลโจดหนองแก อำเถอพล จังหวัดขอนแก่น
     ทิศตะวันออก จากหลักเขตที่ 3 เลียบเกวียนผ่าน หมู่บ้านหนองแวงไปจรดหลักเขต ที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ทาง ฝั่งตะวันออกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 เขตเทศบาลเมืองเมืองพลทางทิศตะวันออกนี้จะติดต่อกับเขตตำบลเมืองพล อำเภอพล
     ทิศใต้ จากหลักเขตที่ 5 หักไปทางทิศตะวันตก ได้ฉากกับเส้นเขตที่ 4-5 เลียบไปทางทิศใต้เป็นระยะทาง 255 เมตร จรดหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่ มุมตะวันออกเฉียงใต้ของทางเดินจาก หลักที่ 6 เลียบไปทางเดินจรดหลักเขตที่ 7 ที่ด้านทิศใต้ของหมู่บ้าน เมืองเก่า ห่างจากหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ที่หลัก ก.ม. 374/7001 ของทางรถไฟตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากหลักเขตที่ 7 เป็นระยะทาง 695 เมตร วัดเป็นเส้นใต้ตั้งฉากกับทางรถไฟเขตเทศบาลเมืองเมืองพล ทางทิศใต้นี้จะติดต่อกับอ่างเก็บน้ำชลประทาน "บึงละเลิงหวาย" เขตตำบลหนองมะเขือ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
     ทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 8 เลียบทางรถไฟไปทางทิศเหนือบรรจบหลักเขตที่ 1 เขตเทศบาลเมืองเมืองพล ทางทิศตะวันตกนี้ จะจรดกับทางรถไฟสายกรุงเทพฯ - หนองคายตลอดแนว


 สถานที่ท่องเที่ยว

อ่านเพิ่มเติม: เกี่ยวกับเทศบาล

 

 

เทศบาลเมืองเมืองพล ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลเมืองพลอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น เดิมชื่อ "เทศบาลตำบลเมืองพล" เมื่อชุมชนมีความหนาแน่น พอที่จะจัดตั้งเทศบาลได้ จึงได้ ยกฐานะเป็นเทศบาล เรียกว่า "เทศบาลตำบลเมืองพล" ตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาล ตำบลเมืองพล จังหวัดขอนแก่น พุทธศักราช 2480 มีพื้นที่รับผิดชอบ 3 ตารางกิโลเมตร ระยะห่างจาก กรุงเทพฯ ประมาณ 398 กิโลเมตรและห่างจากจังหวัดขอนแก่นประมาณ 74 กิโลเมตร มีคณะผู้บริหาร บริหารท้องถิ่นชุดแรก พระศรีพลรัตน์ นายอำเภอ ในขณะนั้นเป็นนายกเทศมนตรี นายศรี อุทกศิริ และนายพัน พุทโธวาท เป็นเทศมนตรี และ นายกระบี่ ณรงค์ เป็นปลัดเทศบาล

  "เทศบาลตำบลเมืองพล" ได้รับการยกฐานะให้เป็น "เทศบาลเมืองเมืองพล" เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2538 ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 112 ตอนที่ 40 ก. และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 กันยายน 2538 เป็นต้นไป